เลือก ยังไงเอ่ย? สารช่วยให้ฟู(Leavening Agent)

สารช่วยฟูที่เราใช้หลัก ๆ มีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้

1 ผงฟู (Baking Powder)

เป็นสารเสริมที่ช่วยให้ขนมมีความฟูนุ่ม นอกจากการตีให้ขึ้นฟู ในปัจจุบันนิยมใช้ผงฟูแบบ Double Action หรือผงฟูที่ทำงานสองครั้ง คือ ครั้งแรกจะทำงานระหว่างการผสม และครั้งที่สองทำงานในขณะที่ขนมกำลังจะสุก ผงฟู สามารถพบในขนมปังจำพวก แพนเค้ก วาฟเฟิล และมัฟฟิน

2 เบกกิ้งโซดา (Baking Soda)

มีอีกชื่อเรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต เป็นสารเสริมอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เนื้อขนมขึ้นฟู เป็นผงสีขาว มีรสเค็มเล็กน้อย และมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน ๆ ใช้ใส่ในส่วนผสมที่มีส่วนผสมของของหนัก และมีน้ำตาลในตัว เช่น ผงโกโก้ เนื้อกล้วยหอม

Baking measurements

หลายคน...อาจคิดว่ายากสำหรับการ วัด ชั่ง ตวงตามสูตร มิสเตอร์ ออลฟอร์มีทริคง่ายๆมาฝากครับ เวลาที่เราดูสูตรทำขนมตามหนังสือสอนทำขนม เว็บไซต์ หรือ Blogger ของต่างประเทศ ปัญหาที่มักจะพบก็คือหน่วยในการวัด ชั่ง ตวงวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งสำหรับคนทำขนมมือใหม่แล้วอาจไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับวัดตวงครบทุกประเภท หากว่าเราสามารถเทียบมาตราส่วนของอุปกรณ์ต่างๆได้ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้กันครับ

การเทียบมาตราส่วนโดยทั่วไป

1 ช้อนชา = 1/3 ช้อนโต๊ะ = 5 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา = 15 กรัม
2 ช้อนโต๊ะ = 1 / 8 ถ้วยตวง
4 ช้อนโต๊ะ = 1/ 4 ถ้วยตวง
12 ช้อนโต๊ะ = 3/ 4 ถ้วยตวง
1 ถ้วยตวง = 16 ช้อนโต๊ะ = 240 กรัม
1 ไพน์ = 2 ถ้วยตวง = 32 ช้อนโต๊ะ = 480 กรัม = 16 ออนซ์
1 ควอท = 4 ถ้วยตวง
1 แกลลอน = 4 ควอท
1 แกลลอน = 3.79 ลิตร

แต่ข้อควรระวังในการเทียบอัตราส่วน คือการแปลงของแห้งที่ตวงด้วยถ้วยตวงไปเป็นกรัมจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของส่วนผสมนั้นๆ เช่น แป้ง 1 ถ้วยตวง เป็นแป้งคนละชนิดกัน ก็หนักไม่เท่ากัน เพราะแป้งมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน เป็นต้น

หน่วยน้ำหนักที่นิยมใช้ในการทำขนมอบ ได้แก่

กรัม (g) กิโลกรัม(kg) ออนซ์ (ounces,Oz.) และปอนด์ (pound)

1 ปอนด์ = 16 ออนซ์ หรือ 454 กรัม
1 ออนซ์ (ของเหลว) = 2 ช้อนโต๊ะ
1 ออนซ์ (ของแห้ง) = 28.3495 กรัม
2 ออนซ์ = 1/4 ถ้วยตวง
8 ออนซ์ = 1 ถ้วยตวง = 226.796 กรัม
1 ถ้วยตวง = 8 ออนซ์
1 ปอนด์ = 16 ออนซ์ หรือ 453.59 กรัม
1 กิโลกรัม = 2.2 ปอนด์
1 กิโลกรัม = 1000 กรัม

มาตราชั่งตวงนั้นมีหลายมาตรา ได้แก่ มาตราเมตริก (Metrics systems) และมาตราอังกฤษ (English systems) แต่ในประเทศไทยนั้นนิยมใช้มาตราแบบเมตริก สูตรขนมต่างๆของคนไทยนั้นก็มักจะมีหน่วยของมาตราเมตริกเป็นหลัก แต่หากได้ดูสูตรขนมของต่างประเทศด้วยแล้ว ก็ควรจะเรียนรู้เรื่องหน่วยของมาตราอื่นๆ ไว้สำหรับเวลาที่ต้องการแปลงสูตรให้อยู่ในหน่วยที่สามารถชั่งตวงได้อย่างสะดวก